แนวนโยบายการบริหารวัดหลวงพ่อ

หลักการ แนวคิด และวิธีการพัฒนาของวัดเสมียนนารี
"พระราชศาสนกิจโสภณ"





            ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยเป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติที่นับถือพุทธศาสนา ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาช้านาน โดยมีวัดเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ เป็นสถานที่รื่นร่มเย็นทั้งทางกายและทางใจ เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม วัดเกิดขึ้นเพราะมีผู้เข้าใจธรรมชาติและชีวิต วัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของความสงบร่มเย็นและความสะอาด นอกจากนี้ยังมีที่สาธารณประโยชน์ของวัดอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบกิจกรรมทางสังคม พระสงฆ์ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกิจและส่งเสริมเผยแพร่พุทธศาสนาเป็นศูนย์กลางของชุมชนในด้านต่างๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบทบาทและหน้าที่ของวัดที่สำคัญคือการเข้าไปช่วยเหลือสังคม หมู่บ้านแต่ละแห่งต่างมีวัดประจำหมู่บ้านของตนเป็นศูนย์กลาง และต่างก็มีความยึดถือวัดนั้นว่าเป็นวัดของตน เป็นสมบัติร่วมกันของคนทั้งหมู่บ้านนั้น วัดแต่ละวัดจึงเป็นเครื่องรวมสังคมย่อยหนึ่งๆ เข้าให้เป็นหน่วยเดียวกัน บทบาทของวัดในฐานะเป็นศูนย์กลางของสังคมแล้วนอกจากอบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชน ยังเป็นสถานศึกษาสำหรับชาวพุทธ


ดังนั้นหากจะกล่าวถึงคำว่า วัด ประชาชนชาวไทยทั่วไปก็คงจะทราบดีว่าหมายถึง หน่วยงาน หรือสถานที่อันเป็นที่รวบร่วมไว้ซึ่งคำสอน ศิลปะ และวัฒนธรรม จนถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งการส่งเสริมทั้งทางด้านค่านิยม ทัศนคติ ความรู้ความสามารถของคนในสังคมไม่น้อยไปกว่าหน่วยงานอื่นใด เพราะวัดถือว่าเป็นที่ชุมนุมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ และเป็นโรงเรียนให้กับประชาชนทั่วทุกคน ประชาชนชาวบ้านครั้งสมัยก่อนที่ต้องการจะศึกษาเล่าเรียนนั้นก็มักจะมาเรียนในวัด เนื่องจากเมื่อก่อนนั้นวัดมีพระสงฆ์เป็นครูผู้สอนหนังสือ และเป็นผู้คอยอบรมบ่มเพาะจริยธรรม คุณธรรมให้กับลูกหลานของประชาชนชาวบ้านทั่วไป นอกจากวัดจะมีบทบาทดังที่ได้กล่าวมาแล้ว วัดยังเป็นแหล่งที่แสดงให้เห็นถึงสภาวะของชุมชน หรือประชาชนแต่ละท้องถิ่นด้วยว่า ประชาชนและชุมชนนั้นมีความเป็นอยู่ที่ดี และมีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับใด ในกรณีที่วัดใดวัดหนึ่งที่มีความสวยงาม และใหญ่โตงดงามก็สามารถที่เป็นที่แสดงให้เห็นถึงกำลังศรัทธา และความร่วมแรงร่วมใจของคนในสังคมหรือชุมชนนั้น ๆ ได้ว่า มีศรัทธาและมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วสังคมชาวพุทธนั้นเป็นสังคมแห่งความสามัคคี และมีความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ต่อกันและกันประกอบกับการที่คนในสังคมได้รับอิทธิพลจากคำสอนของพระพุทธศาสนาจึงนำมาซึ่งหลักคุณธรรมอันดีงาม ไม่ว่าจะเป็นความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ความเคารพต่อพระสงฆ์ และความอ่อนน้อมถ่อมตนของสังคมชาวพุทธ และความเป็นชาวพุทธเราก็สามารถเข้าสู่ภาวะความเป็นอัตลักษณ์แห่งชาวพุทธได้จนถึงปัจจุบัน และแม้ว่าในปัจจุบันสภาวะแวดล้อมของสังคมจะเปลี่ยนไปเช่นไร สังคมชาวพุทธก็ยังคงไว้ซึ่งหลักคุณธรรมดั้งเดิมของคำสอนทางพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ทั้งนั้นวัดก็ถือว่าเป็นศูนย์กลางในการจรรโลงไว้ซึ่งลักษณะพิเศษต่าง ๆ เหล่านี้


            และด้วยเหตุที่วัดเสมียนนารีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ยังไม่ได้รับรางวัลพัฒนาตัวอย่างจนได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างนั้น ได้ถือหลักการในการบริหารจัดการภายในวัดทั้งด้านถาวรวัตถุ และบุคลกร ซึ่งก็คือ พระภิกษุสามเณร ลูกศิษย์วัด ร่วมจนถึงผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ภายในวัดเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยใช้วิธีการบริหารตามหลักที่ใช้หลักการบริหารจัดการในรูปแบบดั่งเดิม และรูปแบบที่ทันสมัย มาพัฒนาควบคู่กันไปมาใช้เพื่อเป็นตัวช่วยในการดำเนินการบริหารให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งวัดเสมียนนารีนั้นได้มีการปรับปรุงสภาพวัดและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของวัดมาโดยตลอดจนกระทั่งมีสภาพที่เรียกว่าเจริญรุ่งเรืองทั้งยังเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจของประชาชนและเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยได้จัดดำเนินการบริหารงานตามแนวทางเพื่อการพัฒนาวัดให้เกิดความรู้สึกแก่ชุมชนในท้องถิ่นว่า วัดนั้นเป็นของตน และมีความรู้สึกหวงแหน รักและช่วยกันดูแลรักษา มีการสร้างสภาพแวดล้อมภายในวัดให้สามารถที่จะเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณร เป็นที่บวชเรียนศึกษาปฏิบัติธรรม เป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน เป็นที่ที่ชาวบ้านได้เข้ามาหาความสงบทางกายและใจเป็นศูนย์กลางสำหรับทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกันของชาวบ้าน สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างวัดกับชุมชนในท้องถิ่น มีการปรับปรุง และทำรักษาความสะอาดภายในวัดนั้นมีความสะอาด ร่มรื่น ตลอดจนยังได้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ระหว่างวัดกับบ้านซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่วัดแต่ละวัด ไม่เฉพาะวัดเสมียนนารีเพียงเท่านั้นจะต้องมีหลักการดังกล่าวนี้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนโดยทั่วไปนั่นเอง


ส่วนวิธีการบริหารที่ทางวัดเสมียนนารีได้นำมาใช้ซึ่งได้นำหลักการในรูปแบบผสมผสานระหว่างรูปแบบดั่งเดิมและทันสมัย หรือสมัยใหม่มาใช้ก็คือ การบริหารให้เป็นไปในรูปแบบที่ไม่ทิ้งรูปแบบการบริหารงานของพระสงฆ์ในสมัยเก่า ๆ ซึ่งยังถือว่าเป็นหลักการที่สามารถจะใช้ได้ในปัจจุบันได้ไม่ว่าจะเป็นการอบรม และการให้ความรู้ด้านจริยธรรม คุณธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์ให้ดำรงตนให้อยู่ในกรอบหลักธรรมหลักวินัย นอกจากนี้ยังได้นำหลักการบริหารจัดการในรูปแบบสมัยใหม่มาใช้ก็คือ การกระจายอำนาจซึ่งเป็นการบริหารจัดการภายในวัดเสมียนนารี โดยการแบ่งเบาภาระของเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่ต่าง ๆ ให้เหลือแต่ภารกิจ และบทบาทหน้าที่หลักที่ต้องทำเท่าที่จำเป็น และเพิ่มบทบาทให้แก่พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่ต่าง ๆ เข้าดำเนินการแทน โดยในการบริหารงานซึ่งวัดเสมียนนารีได้มีการสายงานด้านการบริหารงานอยู่หลายสายโดยทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อการนำมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองขององค์กรในที่สุด เช่น ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการเผยแผ่ ด้านการปกครอง ด้านนวกกรรม ( ด้านการโยธา ) ด้านการศึกษา โดยในด้านต่าง ๆ ได้มีการบริหารจัดการกันเองโดยเจ้าอาวาสเป็นผู้ให้อำนาจในการบริหารเต็มที่ในแต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วมให้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น